วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเลี้ยงปลาทะเล


การเลี้ยงปลาทะเลปลากะพงขาว




ตัวอย่างพ่อค้าที่เลี้ยงปลากะพงขาว
คุณกิบหลี การะวรรณ บ้านเลขที่ 217/1 หมู่ที่ 1 ตำบลสะทิ้งหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
เล่าถึงแหล่งที่จะไปซื้อพันธุ์ปลาว่า

"พันธุ์ปลาซื้อมาจากจังหวัดสตูล แต่ที่จังหวัดสตูลก็ซื้อมาจากบางปะกงอีกรอบ เพราะที่จังหวัดสตูลยังไม่สามารถที่จะเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาได้ ปลาที่สตูลก็มีความแข็งแรงพอ เพราะน้ำที่จังหวัดสตูลมีความเค็มจัดทำให้ลูกปลาแข็งแรง พอนำมาเลี้ยง ก็มีโอกาสรอดตายสูงกว่าที่เราจะไปซื้อพันธุ์ปลาจากบางปะกงมาเลี้ยง เนื่องจากน้ำที่บางปะกงไม่เหมือนกับน้ำที่บ้านเรา มีความเค็มที่ไม่เท่ากัน ผมก็เคยสั่งลูกปลาจากบางปะกงมาเลี้ยง 2 แสนตัว พอเลี้ยงไปได้สักพักลูกปลาก็ตายเกือบหมด จึงทำให้ขาดทุนไม่คุ้มกับการเลี้ยง การขายลูกปลาคิดเป็นนิ้วละ 3 บาท ปกติจะสั่งขนาด 7-8 นิ้ว เพราะจะแข็งแรงมีโอกาสรอดสูงมาก แต่บางครั้งมีลูกปลาเยอะมากๆ พ่อค้าที่ส่งลูกปลาก็แย่งกันที่จะมาลงลูกปลา ราคาก็จะลดเหลือ 2.5 บาท เท่านั้น" คุณกิบหลี เล่า

เงินลงทุน
ครั้งแรกประมาณ 25,000 บาท ต่อกระชัง ต่อรุ่น โดยกระชังหนึ่งๆ กระชังจะใช้ได้นานถึง 10 ปี ได้กำไร 2,000-2,500 บาท ต่อกระชัง ต่อรุ่น ในช่วงแรกของการเริ่มต้นก็ต้องลงทุนมาก เนื่องจากต้องทำกระชัง แต่หลังจากนั้นก็ลงทุนเฉพาะพันธุ์ปลากับอาหารปลาเท่านั้น
วิธีดำเนินการ
คุณกิบหลี เล่าถึงการสร้างกระชังเลี้ยงปลาว่า กระชังแบบลอยได้ (เป็นกระชังที่สามารถเหยียบอยู่ด้านบน) เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาที่น้ำไม่มีความแรงจนเกินไป เป็นกระชังที่ตนเลี้ยงอยู่ตอนนี้ เป็นกระชังที่มีความแข็งแรง ต้านทานกับแรงน้ำทะเลได้อย่างดี
ใช้เนื้ออวนขนาด 3-6 เซนติเมตร (ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา) มาเย็บเป็นกระชัง กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ลึก 2 เมตร นำก้อนหินใส่ลงไปในก้นกระชัง เพื่อให้ก้นกระชังยืดออก แล้วหย่อนลงไปในน้ำ โดยเอาเชือกร้อยมุมกระชัง 4 มุม และร้อยตรงกึ่งกลางของด้านยาวทั้ง 2 ด้าน เพื่อนำไปผูกยึดติดกับเสาไม้ (ไม้ล่าโอน) ที่ปักลงในน้ำ 6 เสา
จากนั้นนำลูกพันธุ์ปลากะพงขาว ขนาด 7-8 นิ้ว ปล่อยลงในกระชัง 500-600 ตัว ต่อกระชัง เป็นเงินประมาณ 12,000 บาท


การให้อาหาร
ซื้อปลาเป็ดราคากิโลกรัมละ 5 บาท หรือปลาเนื้อ (ปลาทู) ราคากิโลกรัมละ 8.5 บาท และหัวปลาจากโรงงานกิโลกรัมละ 5 บาท
"เมื่อก่อนการให้อาหารปลาจะใช้ปลาทูเป็นส่วนใหญ่ แต่ตอนนี้เรือไม่ค่อยจะออกทะเล เนื่องจากค่าน้ำมันแพงขึ้น ปลาทูก็ลดลง ก็จำเป็นที่จะต้องให้หัวปลาที่ซื้อมาจากโรงงานเป็นอาหารทุกเช้าหรือทุกเย็น เพื่อให้ปลาเรียนรู้เวลาอาหารเองถูกต้อง ใน 2 เดือนแรก ให้อาหารทุกวัน วันละครั้ง ครั้งละ 3 กิโลกรัม เดือนต่อๆ มาให้วันเว้นวัน โดยเดือนที่ 3 ให้เพิ่มเป็น 5 กิโลกรัม ต่อครั้ง ตั้งแต่เดือนที่ 4 ให้เพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 5 กิโลกรัม ต่อครั้ง จนครบ 1 ปี อาหารปลาจะเป็น 40 กิโลกรัม ต่อครั้ง ต่อกระชัง

เมื่อปลามีอายุได้ 1 ปี น้ำหนักปลาจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่จะกินอาหารเท่าเดิมคือประมาณ 40 กิโลกรัม ต่อครั้ง เมื่อเลี้ยงครบ 2 ปี หรือ 20 เดือน ขึ้นไป ก็จำหน่ายได้ หากปลากะพงขาวที่นำมาเลี้ยงมีขนาด 7-8 นิ้ว ในช่วงเดือนแรก ต้องให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยใช้ปลาทู 20-25 กิโลกรัม มาบด ต่อกระชัง

ระยะเวลาในการจับปลา
ที่กลุ่มจะมีการจับปลากันทุกวัน ระยะเวลาการจับขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักปลาด้วย
ถ้าปลามีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ขึ้นไป ราคา 80 บาท
น้ำหนักปลา 2 กิโลกรัม ขึ้นไป ราคา 90 บาท
น้ำหนักปลา 3 กิโลกรัม ขึ้นไป 100 บาท
น้ำหนักปลา 4-5 กิโลกรัม ขึ้นไปก็ 120 บาท

ผู้เลี้ยงบอกว่า ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 18 เดือน ก็จับได้แล้ว การจับปลา ใช้อวนขนาด 3.5เซนติเมตร ลงไปลากปลาในกระชัง ใช้คนลากประมาณ 3 คน ส่วนปลาใหญ่ต้องใช้อวนขนาด 6 เซนติเมตร ขึ้นไป

ตลาด/แหล่งจำหน่าย
กว่าจะมีตลาดที่มั่นคงอย่างนี้ คุณกิบหลีเล่าให้ฟังว่า ตนเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่กับที่ ตอนนั้นทางกลุ่มยังไม่มีตลาดกว้างมากอย่างนี้ ตนต้องออกไปหาตลาดถึงกรุงเทพฯ ใช้เวลาอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นเดือนๆ เพื่อที่จะหาตลาดให้กับกลุ่ม แต่แล้วก็ไม่สามารถที่จะสู้ตลาดทางชลบุรีได้ เนื่องจากค่าขนส่งแพงกว่ามาก ชลบุรีผ่านแค่จังหวัดเดียว แต่ทางกลุ่มผ่าน 14 จังหวัด ก็ต้องบวกค่าน้ำมันเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องถอยมาดูตลาดที่จังหวัดภูเก็ต บังเอิญตนไปเจอพ่อค้าที่รับซื้อปลากะพงอยู่แล้ว ก็ได้ติดต่อ จนกลายเป็นพ่อค้าประจำของกลุ่มไป ทางกลุ่มได้ส่งขายตามโรงแรมอยู่ 4 จังหวัด มีภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ปริมาณในการส่งขายสัปดาห์ละ 5,000-6,000 กิโลกรัม และปลาที่เลี้ยงได้การตอบรับที่ดีมาก เนื่องจากปลาเป็นปลากะพงขาว รสชาติของเนื้อก็อร่อยกว่า เพราะบริเวณที่เลี้ยงเป็นทะเลสาบที่มีน้ำจืดและน้ำเค็มไหลผ่าน ด้านตลาดสดก็มีแม่ค้ามาซื้อไปขาย ส่วนมากจะอยู่ที่ในสงขลามากกว่า

จะมีการสั่งซื้อล่วงหน้าและมีการลงไปจับปลาเพื่อส่งแม่ค้ารายย่อย วันละ 200-300 กิโลกรัม ทุกวัน แต่บางวันก็มากกว่านั้น ต้องขึ้นอยู่ว่ามีเทศกาลอะไรหรือเปล่า ตลาดจะชอบปลาขนาด 1-2 กิโลกรัม ส่วนทางด้านโรงแรมนิยมขนาดปลา 3-4 กิโลกรัม ขึ้นไป 





การเลี้ยงปลาทะเลปลาการ์ตูน

เด็ก ๆ มีความชื่นชมในความน่ารักของปลาการ์ตูนและทำให้นิยมเลี้ยงปลาการ์ตูนมากขึ้น แต่เนื่องจากปลาการ์ตูนเป็นปลาทะเลการเลี้ยงต้องใช้น้ำทะเลหรือน้ำทะเลเทียมเท่านั้นและต้องปรับอากาศแลสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การเลี้ยงโดยไม่รู้จักธรรมชาติของปลาทำให้ปลาทรมานและตาย กรมประมงจึงมอบให้ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยซึ่งเป็นศูนย์ที่สามารถเพาะปลาการ์ตูนที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมดได้
7 ชนิด และของต่างประเทศอีก  1 ชนิด ให้แนะนำผู้ที่สนใจเลี้ยงปลาการ์ตูนควรคำนึง ดังนี้
1 ตู้เลี้ยงปลา  อาจเป็นตู้กระจกหรือตู้พลาสติก  โดยขนาดของตู้ต้องขึ้นอยู่กับ ขนาด ชนิด และปริมาณของปลาที่เลี้ยง  

2  ระบบให้อากาศ การให้อากาศต้องเพียงพอและเหมาะสมเพราะระบบให้อากาศ เพื่อการดำรงชีพของปลา แล้วยังเป็นการรักษาระบบสมดุล   ในตู้ปลาอีกด้วย            
3 ระบบกรอง อาจใช้ระบบกรอง ทราย หิน ธรรมดาหรือในปัจจุบัน ระบบตู้ปลาได้พัฒนาไปมาก ระบบกรอง   ย่อมพัฒนามากยิ่งขึ้น

4 น้ำทะเล  สามารถใช้น้ำทะเลมาทำการเลี้ยงได้จาก  2  แหล่ง  คือ  น้ำทะเลธรรมชาติที่มีความเค็มตั้งแต่  25  พีพีที  ขึ้นไป  โดยการนำมากรอง  หรือตกตะกอนให้ใส  หรืออาจนำมาฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน  5 - 10 พีพีเอ็ม     ทิ้งไว้จนคลอรีนหมด  และการทำน้ำทะเลเทียม  โดยซื้อเกลือเทียมซึ่งมีขายตามร้านขายปลาทั่วไป 
วิธีการใช้จะมีฉลากบอกไว้แต่โดยทั่วไปจะนำผงเกลือเทียมละลายกับน้ำจืดในปริมาณที่
กำหนดแล้วให้อากาศ ไว้ประมาณ  3 - 7 วัน  จึงนำมาใช้
5 อาหาร สามารถให้เนื้อปลา หนอนแดง อาร์ทีเมีย แต่สำหรับปลาที่ได้จากการพาะเลี้ยงสามารถให้อาหารสำเร็จรูป  ชนิดเม็ดหรือชนิดแผ่นเป็นอาหารได้ โดยให้วันละ 1 - 2 ครั้ง ในปริมาณที่ไม่มากเกินเพราะปริมาณอาหารที่เหลือจะทำให้คุณสมบัติน้ำเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น
มีราคาอยู่กระป๋องละ 100 บาทครับ


อาร์ทีเมีย

หนอนเเดง



6 การดูแลจัดการเรื่องน้ำ ตู้ปลาที่กรองด้วยทรายหรือหิน ควรเปลี่ยนน้ำทุก 1 - 2 สัปดาห์ โดยเปลี่ยน 70 - 80 เปอร์เซ็นต์ของน้ำ ส่วนตู้ปลาสมัยใหม่ที่มีระบบกรองที่พัฒนาขึ้น มีระบบกำจัดโปรตีน มีระบบให้โอโซน มีการให้แสง UV พบว่า สามารถใช้น้ำได้นานกว่า 1 เดือน ดังนั้น การเปลี่ยนถ่ายน้ำจึงขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของน้ำในตู้ เป็นสำคัญ
7 ข้อควรระวังในการป้องกันโรค ปลาที่รวบรวมจากธรรมชาติมักเป็นปลาที่บอบช้ำและอ่อนแอ จึงต้องเลือกซื้อปลาที่ไม่เป็นโรคหรืออ่อนแอมาเลี้ยง ส่วนปลาที่ได้จากการเพาะเลี้ยงหากสามารถซื้อจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง  ชายฝั่ง จ. กระบี่ จะได้ปลาที่มีสุขภาพแข็งแรงทนทานและมีขนาดสม่ำเสมอ ไม่ควรให้อาหารมากเกินไป ปริมาณและชนิดปลาต้องเหมาะสมกับระบบการเลี้ยง คุณสมบัติน้ำต้องเหมาะสมและเมื่อปลาเป็นโรคต้องปรึกษาผู้รู้หรือปฏิบัติตามคู่มือการรักษาโรคปลาของกรมประมงอธิบดีกรมประมงกล่าวในตอนท้ายว่า  ปลาการ์ตูนเป็นปลาที่อาศัยอยู่บริเวณแนวปะการังและดอกไม้ทะเล  การรวบรวมพันธุ์ปลาการ์ตูนจากธรรมชาติ  นอกจากทำลายทรัพยากรปลาการ์ตูนแล้วยังทำลายปะการังและดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอีกด้วย  ดังนั้นจึงควรซื้อเฉพาะปลาการ์ตูนที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์  ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้เพาะพันธุ์ได้หลายรายรวมทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง  จ. กระบี่  ของกรมประมงด้วย การที่กรมประมงสามารถเพาะปลาการ์ตูนได้หลายชนิดย่อมช่วยอนุรักษ์ระบบนิเวศในทะเลเป็นอย่างมากและยังสนับสนุนธุรกิจปลาสวยงามอีกด้วย






ที่มา:หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน
http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=3802.0;wap2
http://likenemo.com/article.php?article=article5.2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น