วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเลี้ยงปลาทะเล


การเลี้ยงปลาทะเลปลากะพงขาว




ตัวอย่างพ่อค้าที่เลี้ยงปลากะพงขาว
คุณกิบหลี การะวรรณ บ้านเลขที่ 217/1 หมู่ที่ 1 ตำบลสะทิ้งหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
เล่าถึงแหล่งที่จะไปซื้อพันธุ์ปลาว่า

"พันธุ์ปลาซื้อมาจากจังหวัดสตูล แต่ที่จังหวัดสตูลก็ซื้อมาจากบางปะกงอีกรอบ เพราะที่จังหวัดสตูลยังไม่สามารถที่จะเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาได้ ปลาที่สตูลก็มีความแข็งแรงพอ เพราะน้ำที่จังหวัดสตูลมีความเค็มจัดทำให้ลูกปลาแข็งแรง พอนำมาเลี้ยง ก็มีโอกาสรอดตายสูงกว่าที่เราจะไปซื้อพันธุ์ปลาจากบางปะกงมาเลี้ยง เนื่องจากน้ำที่บางปะกงไม่เหมือนกับน้ำที่บ้านเรา มีความเค็มที่ไม่เท่ากัน ผมก็เคยสั่งลูกปลาจากบางปะกงมาเลี้ยง 2 แสนตัว พอเลี้ยงไปได้สักพักลูกปลาก็ตายเกือบหมด จึงทำให้ขาดทุนไม่คุ้มกับการเลี้ยง การขายลูกปลาคิดเป็นนิ้วละ 3 บาท ปกติจะสั่งขนาด 7-8 นิ้ว เพราะจะแข็งแรงมีโอกาสรอดสูงมาก แต่บางครั้งมีลูกปลาเยอะมากๆ พ่อค้าที่ส่งลูกปลาก็แย่งกันที่จะมาลงลูกปลา ราคาก็จะลดเหลือ 2.5 บาท เท่านั้น" คุณกิบหลี เล่า

เงินลงทุน
ครั้งแรกประมาณ 25,000 บาท ต่อกระชัง ต่อรุ่น โดยกระชังหนึ่งๆ กระชังจะใช้ได้นานถึง 10 ปี ได้กำไร 2,000-2,500 บาท ต่อกระชัง ต่อรุ่น ในช่วงแรกของการเริ่มต้นก็ต้องลงทุนมาก เนื่องจากต้องทำกระชัง แต่หลังจากนั้นก็ลงทุนเฉพาะพันธุ์ปลากับอาหารปลาเท่านั้น
วิธีดำเนินการ
คุณกิบหลี เล่าถึงการสร้างกระชังเลี้ยงปลาว่า กระชังแบบลอยได้ (เป็นกระชังที่สามารถเหยียบอยู่ด้านบน) เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาที่น้ำไม่มีความแรงจนเกินไป เป็นกระชังที่ตนเลี้ยงอยู่ตอนนี้ เป็นกระชังที่มีความแข็งแรง ต้านทานกับแรงน้ำทะเลได้อย่างดี
ใช้เนื้ออวนขนาด 3-6 เซนติเมตร (ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา) มาเย็บเป็นกระชัง กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ลึก 2 เมตร นำก้อนหินใส่ลงไปในก้นกระชัง เพื่อให้ก้นกระชังยืดออก แล้วหย่อนลงไปในน้ำ โดยเอาเชือกร้อยมุมกระชัง 4 มุม และร้อยตรงกึ่งกลางของด้านยาวทั้ง 2 ด้าน เพื่อนำไปผูกยึดติดกับเสาไม้ (ไม้ล่าโอน) ที่ปักลงในน้ำ 6 เสา
จากนั้นนำลูกพันธุ์ปลากะพงขาว ขนาด 7-8 นิ้ว ปล่อยลงในกระชัง 500-600 ตัว ต่อกระชัง เป็นเงินประมาณ 12,000 บาท


การให้อาหาร
ซื้อปลาเป็ดราคากิโลกรัมละ 5 บาท หรือปลาเนื้อ (ปลาทู) ราคากิโลกรัมละ 8.5 บาท และหัวปลาจากโรงงานกิโลกรัมละ 5 บาท
"เมื่อก่อนการให้อาหารปลาจะใช้ปลาทูเป็นส่วนใหญ่ แต่ตอนนี้เรือไม่ค่อยจะออกทะเล เนื่องจากค่าน้ำมันแพงขึ้น ปลาทูก็ลดลง ก็จำเป็นที่จะต้องให้หัวปลาที่ซื้อมาจากโรงงานเป็นอาหารทุกเช้าหรือทุกเย็น เพื่อให้ปลาเรียนรู้เวลาอาหารเองถูกต้อง ใน 2 เดือนแรก ให้อาหารทุกวัน วันละครั้ง ครั้งละ 3 กิโลกรัม เดือนต่อๆ มาให้วันเว้นวัน โดยเดือนที่ 3 ให้เพิ่มเป็น 5 กิโลกรัม ต่อครั้ง ตั้งแต่เดือนที่ 4 ให้เพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 5 กิโลกรัม ต่อครั้ง จนครบ 1 ปี อาหารปลาจะเป็น 40 กิโลกรัม ต่อครั้ง ต่อกระชัง

เมื่อปลามีอายุได้ 1 ปี น้ำหนักปลาจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่จะกินอาหารเท่าเดิมคือประมาณ 40 กิโลกรัม ต่อครั้ง เมื่อเลี้ยงครบ 2 ปี หรือ 20 เดือน ขึ้นไป ก็จำหน่ายได้ หากปลากะพงขาวที่นำมาเลี้ยงมีขนาด 7-8 นิ้ว ในช่วงเดือนแรก ต้องให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยใช้ปลาทู 20-25 กิโลกรัม มาบด ต่อกระชัง

ระยะเวลาในการจับปลา
ที่กลุ่มจะมีการจับปลากันทุกวัน ระยะเวลาการจับขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักปลาด้วย
ถ้าปลามีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ขึ้นไป ราคา 80 บาท
น้ำหนักปลา 2 กิโลกรัม ขึ้นไป ราคา 90 บาท
น้ำหนักปลา 3 กิโลกรัม ขึ้นไป 100 บาท
น้ำหนักปลา 4-5 กิโลกรัม ขึ้นไปก็ 120 บาท

ผู้เลี้ยงบอกว่า ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 18 เดือน ก็จับได้แล้ว การจับปลา ใช้อวนขนาด 3.5เซนติเมตร ลงไปลากปลาในกระชัง ใช้คนลากประมาณ 3 คน ส่วนปลาใหญ่ต้องใช้อวนขนาด 6 เซนติเมตร ขึ้นไป

ตลาด/แหล่งจำหน่าย
กว่าจะมีตลาดที่มั่นคงอย่างนี้ คุณกิบหลีเล่าให้ฟังว่า ตนเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่กับที่ ตอนนั้นทางกลุ่มยังไม่มีตลาดกว้างมากอย่างนี้ ตนต้องออกไปหาตลาดถึงกรุงเทพฯ ใช้เวลาอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นเดือนๆ เพื่อที่จะหาตลาดให้กับกลุ่ม แต่แล้วก็ไม่สามารถที่จะสู้ตลาดทางชลบุรีได้ เนื่องจากค่าขนส่งแพงกว่ามาก ชลบุรีผ่านแค่จังหวัดเดียว แต่ทางกลุ่มผ่าน 14 จังหวัด ก็ต้องบวกค่าน้ำมันเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องถอยมาดูตลาดที่จังหวัดภูเก็ต บังเอิญตนไปเจอพ่อค้าที่รับซื้อปลากะพงอยู่แล้ว ก็ได้ติดต่อ จนกลายเป็นพ่อค้าประจำของกลุ่มไป ทางกลุ่มได้ส่งขายตามโรงแรมอยู่ 4 จังหวัด มีภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ปริมาณในการส่งขายสัปดาห์ละ 5,000-6,000 กิโลกรัม และปลาที่เลี้ยงได้การตอบรับที่ดีมาก เนื่องจากปลาเป็นปลากะพงขาว รสชาติของเนื้อก็อร่อยกว่า เพราะบริเวณที่เลี้ยงเป็นทะเลสาบที่มีน้ำจืดและน้ำเค็มไหลผ่าน ด้านตลาดสดก็มีแม่ค้ามาซื้อไปขาย ส่วนมากจะอยู่ที่ในสงขลามากกว่า

จะมีการสั่งซื้อล่วงหน้าและมีการลงไปจับปลาเพื่อส่งแม่ค้ารายย่อย วันละ 200-300 กิโลกรัม ทุกวัน แต่บางวันก็มากกว่านั้น ต้องขึ้นอยู่ว่ามีเทศกาลอะไรหรือเปล่า ตลาดจะชอบปลาขนาด 1-2 กิโลกรัม ส่วนทางด้านโรงแรมนิยมขนาดปลา 3-4 กิโลกรัม ขึ้นไป 





การเลี้ยงปลาทะเลปลาการ์ตูน

เด็ก ๆ มีความชื่นชมในความน่ารักของปลาการ์ตูนและทำให้นิยมเลี้ยงปลาการ์ตูนมากขึ้น แต่เนื่องจากปลาการ์ตูนเป็นปลาทะเลการเลี้ยงต้องใช้น้ำทะเลหรือน้ำทะเลเทียมเท่านั้นและต้องปรับอากาศแลสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การเลี้ยงโดยไม่รู้จักธรรมชาติของปลาทำให้ปลาทรมานและตาย กรมประมงจึงมอบให้ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยซึ่งเป็นศูนย์ที่สามารถเพาะปลาการ์ตูนที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมดได้
7 ชนิด และของต่างประเทศอีก  1 ชนิด ให้แนะนำผู้ที่สนใจเลี้ยงปลาการ์ตูนควรคำนึง ดังนี้
1 ตู้เลี้ยงปลา  อาจเป็นตู้กระจกหรือตู้พลาสติก  โดยขนาดของตู้ต้องขึ้นอยู่กับ ขนาด ชนิด และปริมาณของปลาที่เลี้ยง  

2  ระบบให้อากาศ การให้อากาศต้องเพียงพอและเหมาะสมเพราะระบบให้อากาศ เพื่อการดำรงชีพของปลา แล้วยังเป็นการรักษาระบบสมดุล   ในตู้ปลาอีกด้วย            
3 ระบบกรอง อาจใช้ระบบกรอง ทราย หิน ธรรมดาหรือในปัจจุบัน ระบบตู้ปลาได้พัฒนาไปมาก ระบบกรอง   ย่อมพัฒนามากยิ่งขึ้น

4 น้ำทะเล  สามารถใช้น้ำทะเลมาทำการเลี้ยงได้จาก  2  แหล่ง  คือ  น้ำทะเลธรรมชาติที่มีความเค็มตั้งแต่  25  พีพีที  ขึ้นไป  โดยการนำมากรอง  หรือตกตะกอนให้ใส  หรืออาจนำมาฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน  5 - 10 พีพีเอ็ม     ทิ้งไว้จนคลอรีนหมด  และการทำน้ำทะเลเทียม  โดยซื้อเกลือเทียมซึ่งมีขายตามร้านขายปลาทั่วไป 
วิธีการใช้จะมีฉลากบอกไว้แต่โดยทั่วไปจะนำผงเกลือเทียมละลายกับน้ำจืดในปริมาณที่
กำหนดแล้วให้อากาศ ไว้ประมาณ  3 - 7 วัน  จึงนำมาใช้
5 อาหาร สามารถให้เนื้อปลา หนอนแดง อาร์ทีเมีย แต่สำหรับปลาที่ได้จากการพาะเลี้ยงสามารถให้อาหารสำเร็จรูป  ชนิดเม็ดหรือชนิดแผ่นเป็นอาหารได้ โดยให้วันละ 1 - 2 ครั้ง ในปริมาณที่ไม่มากเกินเพราะปริมาณอาหารที่เหลือจะทำให้คุณสมบัติน้ำเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น
มีราคาอยู่กระป๋องละ 100 บาทครับ


อาร์ทีเมีย

หนอนเเดง



6 การดูแลจัดการเรื่องน้ำ ตู้ปลาที่กรองด้วยทรายหรือหิน ควรเปลี่ยนน้ำทุก 1 - 2 สัปดาห์ โดยเปลี่ยน 70 - 80 เปอร์เซ็นต์ของน้ำ ส่วนตู้ปลาสมัยใหม่ที่มีระบบกรองที่พัฒนาขึ้น มีระบบกำจัดโปรตีน มีระบบให้โอโซน มีการให้แสง UV พบว่า สามารถใช้น้ำได้นานกว่า 1 เดือน ดังนั้น การเปลี่ยนถ่ายน้ำจึงขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของน้ำในตู้ เป็นสำคัญ
7 ข้อควรระวังในการป้องกันโรค ปลาที่รวบรวมจากธรรมชาติมักเป็นปลาที่บอบช้ำและอ่อนแอ จึงต้องเลือกซื้อปลาที่ไม่เป็นโรคหรืออ่อนแอมาเลี้ยง ส่วนปลาที่ได้จากการเพาะเลี้ยงหากสามารถซื้อจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง  ชายฝั่ง จ. กระบี่ จะได้ปลาที่มีสุขภาพแข็งแรงทนทานและมีขนาดสม่ำเสมอ ไม่ควรให้อาหารมากเกินไป ปริมาณและชนิดปลาต้องเหมาะสมกับระบบการเลี้ยง คุณสมบัติน้ำต้องเหมาะสมและเมื่อปลาเป็นโรคต้องปรึกษาผู้รู้หรือปฏิบัติตามคู่มือการรักษาโรคปลาของกรมประมงอธิบดีกรมประมงกล่าวในตอนท้ายว่า  ปลาการ์ตูนเป็นปลาที่อาศัยอยู่บริเวณแนวปะการังและดอกไม้ทะเล  การรวบรวมพันธุ์ปลาการ์ตูนจากธรรมชาติ  นอกจากทำลายทรัพยากรปลาการ์ตูนแล้วยังทำลายปะการังและดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอีกด้วย  ดังนั้นจึงควรซื้อเฉพาะปลาการ์ตูนที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์  ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้เพาะพันธุ์ได้หลายรายรวมทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง  จ. กระบี่  ของกรมประมงด้วย การที่กรมประมงสามารถเพาะปลาการ์ตูนได้หลายชนิดย่อมช่วยอนุรักษ์ระบบนิเวศในทะเลเป็นอย่างมากและยังสนับสนุนธุรกิจปลาสวยงามอีกด้วย






ที่มา:หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน
http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=3802.0;wap2
http://likenemo.com/article.php?article=article5.2


การเลี้ยงปลาน้ำจืด

การเลี้ยงปลาน้ำจืด


การเลี้ยงปลาน้ำจืดและปลาทะเล
                การเลี้ยงปลาน้ำจืดส่วนมากที่นิยมเลี้ยงและนิยมนำมาขายมากคือ ปลาดุก และปลานิล เพราะทั้งสองปลานี้มีน้ำหนักที่ดีและเลี้ยงง่ายทนต่อสภาพอากาศจึงทำให้ทำรายได้ทางการค้าดี    ส่วนปลาทะเลมีการเลี้ยงแต่ใส่ในกระชังซึ่งส่วนมากก็จะเป็นปลากะพงขาว   แต่คนบางคนจับปลาทะเลที่มีสีสวยไปเลี้ยงในตู้เรียกว่าปลาการ์ตูน ทั้งนี้ยังไม่หมดปลายังมีวิตามินซีที่ช่วยบำรุงสมองทำให้เลือดสูบฉีดฉลาดขึ้น

การเลี้ยงปลาน้ำจืดปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน
การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงปลาดุก สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์และในกระชัง แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน 4-5 ไร่
การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาดุก
ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา มีดังนี้
1. สถานที่ไม่เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนเกินไป สามารถจัดระบบน้ำระบายน้ำเข้า-ออกได้ดี
2. สภาพดินควรเป็นดินเหนียวสามารถทำเป็นคันบ่อเก็บกักน้ำได้ดี
3. สภาพน้ำต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารพิษของโลหะหนักหรือยาฆ่าแมลง หรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
4. ทางคมนาคมสะดวก

ประเภทปลาดุก
ปลาดุกอุย


ปลาดุกด้าน






ปลา ดุก รัสเซีย



การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาดุก
มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้
1. บ่อใหม่
ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้นบ่อ
ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยให้ทั่วบ่อ
เติมน้ำให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา
2. บ่อเก่า
ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่ส
ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่
ตากบ่อให้แห้ง ประมาณ 7-15 วัน
นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ
เติมน้ำ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเป็นสีเขียว


ก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่ถึง 7.5-8.5 ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง ให้ได้ 7.5-8.5


การเตรียมพันธ์ปลาดุก
การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1. แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก ควรดูจาก
ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ
มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ
มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา
2. ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์ ซึ่งสังเกตจาก
การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว ไม่ว่ายควงสว่าน หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ
ลำตัวสมบูรณ์ หนวด หาง ครีบ ไม่กร่อน ไม่มีบาดแผล ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ
ขนาดลูกปลาต้องเสมอกัน
การปล่อยลูกปลาดุกในบ่อเลี้ยง
เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
อัตราการปล่อย
เกษตรกรรายใหม่ ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว จะทำให้อัตราการรอดสูง อัตราการปล่อย ปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ปล่อย 80,000-100,000 ตัว/ไร่ ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริง
อาหารและการให้อาหาร

ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ 80% เป็นค่าอาหาร เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ


การเลือกซื้ออาหาร
ลักษณะของอาหาร
สีสันดี
กลิ่นดี ไม่เหม็นหืน
ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ ไม่เป็นฝุ่น
การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน
อาหารไม่เปียกชื้น ไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่ขึ้นรา
ประเภทของอาหารสำเร็จรูป
อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 1 – 4 เซนติเมตร
อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 3 เซนติเมตร – 1 เดือน
อาหารปลาดุกเล็ก ใช้สำหรับปลาอายุ 1-3 เดือน
อาหารปลาดุกใหญ่ ใช้สำหรับปลาอายุ 3 เดือน - ส่งตลาด






วิธีการให้อาหาร

ปลาดุกเมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป -อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้อง- ให้ปลากินหมด ภายในเวลา 30-60 นาที โดยให้อาหารประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหาร ลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่าน
-ให้กินกระจายทั่วบ่อ ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน 30 นาที ให้กินจนลูกปลาอายุ 1 เดือน- ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร- การให้อาหารปลาจะให้ 2 มื้อ ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจน



การเก็บปลาดุก ในบ่อดิน
รวมทั้งหมด6เดือน ให้คนมาดูมาตีราคา
ปลาขนาด 5-7ขีด ซึ่งเค้ารับซื้อตัวละ40-60 บาท ยกบ่อ
ตีรวมๆตายบ้าง ตัวเล็กบ้าง (บางทีให้อาหารไม่ทั่วถึง) ปลาอื่นๆรวมๆบ้าง
เค้าตีราคามาให้ 130,000
เค้าก็มาวิดน้ำจับปลากันเต็มวัน
มาคำนวณกำไร
ค่าปลา 500+4,000
ค่าอาหารประมาน 8,000 (ปกติซื้อ370.- บางครั้งซื้ออีกเจ้า 400.- ตีราคาคร่าวๆนะคะ)
เป็น 12,500.-
กำไร 117,500.-
ใช้ระยะเวลา 6เดือน
เท่ากับสระดินที่อยู่เฉยๆ ในรีสอร์ททำกำไรเดือนละเกือบๆ สองหมื่นค่ะ
ดิฉันว่าก็โอเค สำหรับครั้งแรก และเป็นมือใหม่ไร้ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนี้เลย
จริงๆที่รีสอร์ททำกำไรคืนค่าอาหารปลาไปบ้าง โดยการแบ่งใส่ถุง ราคาถุงละ 10.-  ให้ลูกค้าให้อาหารปลาเพลินๆ กำไรทั้งสร้างกิจกรรมให้ลูกค้า และพวกปลาก็อิ่มด้วยค่ะ
ครั้งต่อไปจะซื้อเพิ่มจำนวน แล้วจะมารายงานกำไรนะคะ





การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์แบบครัวเรือน
ประโยชน์การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์
       1. ใช้พื้นที่น้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่
       2. ใช้เวลาเลี้ยงสั้น รุ่นละประมาณ 90 - 120 วัน
       3. ปลาดุกเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
       4. สามารถเลี้ยง ดูแลรักษาได้สะดวก บริโภคในครัวเรือนและส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายได้
การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
       1. การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
          - บ่อควรอยู่ใกล้บ้าน หรือที่สามารถดูแลได้สะดวก
          - ควรอยู่ในร่มหรือมีหลังคา เพราะปลาดุกไม่ชอบแสงแดดจัด และป้องกันเศษใบไม้ลงสู่บ่อจะทำให้น้ำเสียได้
          - มีแหล่งน้ำสำหรับเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวกพอสมควร
       2. การสร้างบ่อ
          - บ่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูงประมาณ 40 ซม.
          - ควรมี 2 บ่อ เพื่อใช้คัดขนาดปลาและสำรองน้ำไว้ถ่ายเท
          - ผนังและพื้นบ่อควรใส่สารกันรั่วซึม
          - มีท่อระบายน้ำเพื่อช่วยในการถ่ายเทน้ำ
การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยง
       1. การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลา ให้ตัดต้นกล้วยเป็นท่อใส่ลงไปในบ่อ เติมน้ำให้ท่วม แช่ไว้ 3 - 5 วัน เปลี่ยนต้นกล้วยแล้วแช่ไว้อี่ครั้งเพื่อให้หมดฤทธิ์ปูนขาว แล้วล้างบ่อให้สะอาด
       2. ตรวจสอบสภาพน้ำให้เป็นกลางหมดฤทธิ์ของปูน ถ้ามีตะใคร่น้ำเกาะติดที่ข้างบ่อปูนถึงจะดี
       3. น้ำที่จะใช้เลี้ยงคือน้ำจากคลอง หนอง บึง ต้องตรวจสอบว่ามีศัตรูปลาเข้ามาในบ่อด้วยหรือเปล่า
       4. น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำประปา ควรพักน้ำไว้ประมาณ 3 - 5 วัน ก่อนนำมาใช้ได้
อัตราการปล่อยปลาและเลี้ยง
       1. ปลาเริ่มเลี้ยงความยาว 5 -7 ซม.
       2. อัตราการปล่อยลงเลี้ยงในถังซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ถึก 40 ซม. ประมาณ 80 - 100 ตัว
       3. ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรใส่เกลือแกลงประมาณ 2 - 3 ช้อนแกง เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำ
       4. ระดับน้ำที่ปล่อยปลาครั้งแรก 10 -15 ซม.
       5. การปล่อยปลาควรปล่อยในตอนเช้า
       6. ควรนำถุงปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงแช่ในบ่อประมาณ 30 นาที เพื่อให้อุณหภูมิน้ำในถุงปลาและน้ำในบ่อไม่แตกต่างกันป้องกันปลาตายได้
       7. ควรมีวัสดุให้ปลาหลบซ่อน เช่นท่อพีวีซีตัดเป็นท่อนหรือกระบอกไม้ไผ่ เพราะปลาตัวใหญ่จะกวนปลาตัวเล็ก
       8. ควรมีการคัดขนาดปลา เมื่อมีอายุประมาณ 15 -20 วัน โดยนำตัวเล็กแยกไว้อีกบ่อหนึ่ง
       9. ควรมีวัสดุช่วยบังแสงแดด
การถ่ายน้ำ
       1. เริ่มเลี้ยงระดับน้ำลึก 10 - 15 ซม.
       2. เพิ่มระดับน้ำอีก 5 - 10 ซม. เมื่อเลี้ยงไปได้ 10 - 15 วัน
       3. ระดับน้ำสูงสุดไม่เกิน 40 ซม.
       4. ถ่ายเทน้ำทุก 5 -7 วัน
       5. ถ่ายเทน้ำแต่ละครั้งไม่ควรถ่ายจนหมด ถ่ายน้ำประมาณ 1 ส่วน 3 ของน้ำในบ่อ
       6. ขณะถ่ายเทน้ำไม่ควรรบกวนให้ปลาดุกตกใจเพราะปลาจะไม่กินอาหาร 2-3 วัน
อาหารและการให้อาหาร
       1. อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ
          - ปล่อยปลาขนาด 5-7 ซม. ให้อาหารปลาดุกเล็ก
          - ปลาขนาด 7 ซม. ขึ้นไป ให้อาหารปลาดุกรุ่น
       2. อาหารสด เช่น เศษปลา ไส้ไก่ ปลวก โครงไก่ การให้อาหารควรให้อาหารวันละประมาณ 3 ครั้ง ในช่วงเช้า-เย็น ให้อาหารประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลาต่อวัน (หรือให้กินจนอิ่ม)
การป้องกันและรักษาโรคปลาดุก
       1. ไม่ปล่อยปลาหนาแน่นเกินไป
       2. ไม่ให้อาหารมากจนเกินไป
       3. รักษาคุณภาพน้ำให้เหมาะสม
       4. ถ่ายเทน้ำทุก 5-7 วัน

โรคปลาดุกและการรักษา
       1. โรคกระโหลกร้าว แก้ไขโดยผสมวิตามินซี 1 กรัมกับอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 15 วัน
       2. โรคจากเชื้อแบคทีเรียและแผลข้างตัว ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเททราไซคลิน 1 กรัม ผสมอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 7-10 วัน
       3. หากมีปลาตายและเป็นแผลตามลำตัวให้ทำลายปลาตาย เช่น เผาหรือฝัง
การเก็บปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การจำหน่าย
1.
ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
2.
ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
3.
ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี


หมายเหตุ : ราคาที่จำหน่ายปลาขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ ต้นทุนการผลิตขึ้นกับวัสดุและอุปกรณ์ในแต่ละท้องถิ่น